WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOA Prasarnประสาร` เผยไทยเร่งแก้ปัญหาความยากจน ทำดัชนีชี้้วัดเป้าหมายการพัฒนายั่งยืนดีขึ้น แต่ยังต้องแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ

      อดีตผู้ว่า ธปท. เผยดัชนีชี้วัด SCG ซึ่งยูเอ็น ประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พบว่าไทยอยู่อันดับที่ 55 จาก 157 ประเทศทั่วโลก หลังพยายามแก้ไขปัญหาความยากจน พัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่่งยืน แต่ยังต้องแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม หลังพบว่าความมั่งคั่งในประเทศสูงขึ้น 58% แต่อยู่ในมือประชาชนแค่ 1%

      ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ธุรกิจไทยบนเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืน" ว่า หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ละประเทศเดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้ทุนนิยมเสรี ซึ่งมีความเชื่ิอภายใต้หลักการกลไกตลาด หรือ เรียกว่ามือที่มองไม่เห็น ทุกอย่างมี 2 ด้านเสมอ มีขาวก็มีดำ มีหยินก็มีหยาง

      สำหรับ ประเทศไทยพยายามแก้ปัญหาความยากจน ความเท่าเทียมทางเพศ และ การเติบโตทางเศรษฐกิจ เนื่องจากไทยเคยเจ็บมาก่อนในการบริหารนโยบายเศรษฐกิจที่ไม่ยั่งยืนจนนำไปสู่วิกฤติปี 40 ทำให้ภาคธุรกิจได้รับบทเรียนจนนำไปสู่เศรษฐกิจพอเพียง โดยสิ่งสำคัญ คือ เรื่องการพัฒนาความยั่งยืน และ คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ในภาคธุรกิจ เห็นได้จากภาคการเงินในต่างประเทศเริ่มให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ การเกิดภัยพิบัติบ่อยครั้งส่งผลอย่างมีนัยต่อบริษัทประกันภัย ต้องจ่ายค่าสินไหมเพิ่มขึ้น 4 เท่าของค่าเฉลี่ย รวมถึงสถาบันการเงินเสี่ยงที่ลูกค้าจะผิดนัดชำระหนี้สูงขึ้น

      นอกจากนี้ หลายปีที่ผ่านมาภาคธุรกิจไทยให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากขึ้น เป็นผลจากทิศทางการกำกับดูแลมาตรฐานต่างๆที่เข้มงวด ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี สะท้อนจากราคาหุ้นที่เพิ่มขึ้นของบริษัทที่คำนึงถึงผลกระทบสิ่งแวดล้อมและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ใช้หลักธรรมภิบาลในการดำเนินธุรกิจ เป็นที่ยอมรับของชุมชน

       สำหรับ ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติได้ประกาศเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน จัดทำดัชนีชี้วัด SCG ซึ่งไทยอยู่อันดับที่ 55 จาก 157 ประเทศทั่วโลก จากความพยายามในการแก้ไขปัญหาความยากจน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจแบบยั่งยืน

      อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องปรับปรุง คือ การแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำ โดยพบว่าความมั่งคั่งในประเทศที่สูงขึ้น 58% อยู่ในมือประชาชนจริงๆเพียง 1% เท่านั้น การแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุบนท้องถนน ไทยสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก ธนาคารโลกชี้ว่าหากสามารถลดลดลงได้ 50% จะส่งผลให้รายได้ต่อหัวคนไทยเพิ่มขึ้นถึง 9%

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ประสาร-วิรไท แนะภาครัฐ-เอกชนให้ความสำคัญการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อลดความเสี่ยงเชิงกลยุทธ์ขององค์กร

      นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง "ธุรกิจไทยบนเส้นทางการเติบโตอย่างยั่งยืน" ว่า ในระบบทุนนิยมแบบสุดโต่งที่ขาดการถ่วงดุลด้านจริยธรรม ได้ส่งผลให้เกิดวิสัยทัศน์ที่บิดเบี้ยว มุ่งสร้างแต่การเติบโตในเชิงปริมาณมากกว่าในเชิงคุณภาพ มีการตัดสินใจโดยคำนึงถึงเพียงปัจจัยระยะสั้น และคิดแต่ผลประโยชน์ส่วนตัว จึงทำให้การพัฒนาเกิดปัญหาสะสมในหลายมิติ ซึ่งทำให้โลกที่เราอยู่เกิดความไม่ยั่งยืน

      สำหรับ ในแง่ของประเทศไทยนั้น เริ่มมีการตื่นตัวในเรื่องการเติบโตอย่างยั่งยืนมากขึ้นภายหลังจากที่ประเทศต้องเผชิญกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ส่งผลให้ในช่วงหลังๆ ภาคธุรกิจของไทยเริ่มมีการบริหารองค์กรแบบพอเพียงและยั่งยืน จึงทำให้ประเทศไทยไม่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจโลกมากนักในระยะหลัง

       นายประสาร กล่าวว่า เหตุที่ภาคธุรกิจหันมาให้ความสนใจกับการเติบโตและการพัฒนาอย่างยั่งยืนมากขึ้น เป็นเพราะในปัจจุบันนโยบายและมาตรฐานการกำกับดูแลต่างๆ มีความเข้มงวดมากขึ้น เช่น กฎหมายสิ่งแวดล้อม, กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค, การดูแลสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษย์ นอกจากนี้ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ทำให้สังคมรับรู้ข่าวสารได้ไวและกว้างขวางมากขึ้น ดังนั้นหากไม่ช่วยกันให้ความสำคัญกับการเติบโตและพัฒนาอย่างยั่งยืนภายในองค์กร ผลเสียก็จะกลับมาเหนี่ยวรั้งศักยภาพการเติบโตของภาคธุรกิจเอง

      อดีตผู้ว่าฯ ธปท.กล่าวว่า หากภาคธุรกิจไม่สามารถสร้างความพึงพอใจแก่ลูกค้า ย่อมไม่สามารถสร้างผลกำไรได้ ดังนั้นหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ คือ ความพึงพอใจของลูกค้า แต่จากบริบทโลกที่เปลี่ยนแปลงไป สถานภาพของลูกค้าได้ขยายความกว้างออกไปเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ดังนั้นจึงทำให้ภาคธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบที่กว้างขึ้นตาม

       "ปัจจุบันธุรกิจต้องมีความรับผิดชอบที่กว้างขึ้น จาก customer กลายเป็น stakeholder หากธุรกิจทำอะไรที่กระทบความรู้สึกของ stakeholder ก็ย่อมกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในอนาคตด้วย การไม่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืนก็ถือเป็น strategic risk ในทางกลับกับความยั่งยืน จะทำให้ธุรกิจเติบโต หรือเป็น License to Grow" นายประสารกล่าว

     พร้อมระบุว่า ผู้นำองค์กรจะต้องให้ความสำคัญและกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ เพื่อให้มีพลังขับเคลื่อน และเปิดทางให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ถือหุ้นกับบริษัท และสุดท้ายผู้นำจะต้องจัดการความยั่งยืนอย่างมีพลวัตร และปรับตัวอย่างเท่าทัน

      "ภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรม เป็นสถาบันเดียวในโลกที่มีพลังพอจะเปลี่ยนโลกได้ และเชื่อว่าทุกท่านจะเป็นกำลังสำคัญที่ซ่อมโลกใบนี้ให้สมดุล และน่าอยู่ให้แก่ลูกหลานของเราต่อไป" นายประสารกล่าว

     ด้านนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนา เรื่อง "How to Future Proof Business in the Name of a Better World" โดยระบุว่า บริบทของโลกในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นภาคธุรกิจจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับปัจจัยหลัก 3 ประการ เพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีการเติบโตและพัฒนาได้อย่างยั่งยืน ประกอบด้วย ประการแรก ภาคธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการเพิ่มผลิตภาพ เพื่อเพิ่มความสามารถในการผลิตให้มากขึ้น ประการที่สอง ภาคธุรกิจต้องให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำในด้านต่างๆ และประการที่สาม ภาคธุรกิจต้องสร้างภูมิคุ้มกันที่จะเกิดขึ้นจากความไม่แน่นอนที่อาจจะเกิดขึ้น

      "ทั้ง 3 ข้อนี้ ถือเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารธุรกิจให้ยั่งยืน เพราะถ้าไม่ให้ความสำคัญ ก็จะกลายเป็นความเสี่ยงในเชิงกลยุทธ์ แต่ถ้าเราให้ความสำคัญ และบริหารจัดการความเสี่ยงได้ มันก็จะเป็นความได้เปรียบในเชิงกลยุทธ์" ผู้ว่าฯ ธปท.กล่าว

     แต่หากจะมองในแง่ของธนาคารแห่งประเทศไทยแล้ว เรื่องความยั่งยืนถือเป็นหัวใจสำคัญของธนาคารกลาง เพราะหน้าที่หลักที่นอกจากต้องรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจแล้ว หน้าที่อีกด้านคือ การดำเนินงานที่อยู่ท่ามกลางผลประโยชน์ที่หลากหลาย เพราะนโยบายหรือมาตรการของธปท.ที่ออกมาย่อมมีทั้งทำให้ฝ่ายหนึ่งได้รับประโยชน์ และอีกฝ่ายหนึ่งเสียประโยชน์ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องประสานผลประโยชน์ของส่วนรวม และคำนึงถึงผลประโยชน์ในระยะยาวเป็นสำคัญ

       นายวิรไท กล่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย ในฐานะที่เป็นผู้กำหนดนโยบายและดูแลระบบการเงินของประเทศ จะต้องทำหน้าที่ดูแลให้ภาคการเงินมีประสิทธิภาพ และไม่เป็นภาระต้นทุนแก่ภาคธุรกิจ ขณะเดียวกันจะต้องแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ด้วยการให้คนกลุ่มเล็กๆ สามารถเข้าถึงบริการทางการเงิน และได้รับความคุ้มครองทางการเงินอย่างเป็นธรรม รวมทั้งต้องสร้างภูมิคุ้มกัน และช่วยลดจุดเปราะบางต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในระบบการเงิน

         "เรื่องความยั่งยืน เป็นเรื่องสำคัญที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องให้ความสำคัญ การทำให้เกิดความยั่งยืน จะเป็นการลดความเสี่ยงในเชิงกลยุทธ์ การทำตามแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นเรื่อง win-win เพราะธุรกิจก็ชนะ สังคมก็พัฒนา" ผู้ว่าฯธปท.ระบุ

    อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!